3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขอวีซ่าที่อาจทำให้สถานทูตปฏิเสธ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขอวีซ่าที่อาจทำให้สถานทูตปฏิเสธ

3 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขอวีซ่า ที่อาจทำให้สถานทูตปฏิเสธ!

ผ่านร้อนผ่านหนาวมาก็มากมาย กับการขอวีซ่าทุกรูปแบบ พบเจอเรื่องราวมาหลากหลาย วันนี้อยากจะแชร์เพื่อน ๆ กับ 3 เรื่อง ที่คนเข้าใจผิดกันเยอะมาก และอาจจะทำให้วีซ่าถูกปฏิเสธด้วยความไม่รู้ ลองไปอ่านกันเลยค่ะ!

1. เข้าใจผิดว่า ฝรั่งเจ้าของประเทศ ที่อาจจะเป็นผู้เชิญให้เราไปพักด้วยที่บ้าน จะเป็นคนที่รู้เรื่องวีซ่าดีที่สุด

ไม่แปลกเลยค่ะ ที่เราจะคิดว่า ชาวต่างชาติเจ้าของประเทศที่เราจะเดินทางไปท่องเที่ยวพำนักนั้น น่าจะเป็นคนที่รู้เรื่องการทำวีซ่าเป็นอย่างดี อีกทั้งเค้าก็ยังอ่านภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นของประเทศเค้า) ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเจ้าของภาษา หรือเค้าอาจจะสามารถโทรไปสอบถามสถานทูตก็ได้ ว่าจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

แต่ในความเป็นจริง เราลองนึกดูนะคะ สมมติมีเพื่อนเราซึ่งเป็นคนต่างชาติ อยากจะขอวีซ่ามาอยู่ในประเทศไทย เราจะรู้เรื่องมั้ยคะ เราเป็นคนไทย เราอยู่ในประเทศเราได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องขอวีซ่า ดังนั้น เราจึงไม่รู้เรื่องวีซ่าไทยหรอกจริงมั้ยคะ

ดังนั้น เราจะไปต่างประเทศก็เหมือนกันค่ะ ชาวต่างชาติซึ่งเป็นผู้เชิญเรา เค้าก็ไม่ได้สันทัดในการยื่นขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศเค้าเช่นกันค่ะ อาจจะมีบ้าง บางท่านอาจจะพอมีข้อมูล แต่ว่าจากประสบการณ์ที่เราพบเจอมา ชาวต่างชาติที่เป็นผู้เชิญมักจะไม่ทราบค่ะ ว่าคนไทยนั้นขอวีซ่าในการไปต่างประเทศแสนยากเย็น และถูกเพ่งเล็งมาก การที่ยื่นเอกสารง่าย ๆ แบบที่สถานทูตบอกมาแบบเหมารวม ๆ ก็อาจจะไม่สามารถทำให้สถานทูตพึงพอใจและออกวีซ่าให้กับเรา ก็เลยทำให้เราถูกปฏิเสธวีซ่าไปแบบงง ๆ ได้ค่ะ

2. เข้าใจผิดว่า เพื่อนเราที่เก่งภาษาอังกฤษ จบนอก หรือจบอินเตอร์ สามารถช่วยเราแปลเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นขอวีซ่าได้

ถ้าว่ากันตามหลักการ บุคคลที่น่าเชื่อถือในสายตาของสถานทูต ในการรับรองการแปลเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นขอวีซ่า ควรจะเป็นนักแปลอาชีพ (Professional Translator) โดยเฉพาะถ้าเป็นบริษัท ห้างร้าน ที่รับงานแปลเป็นกิจลักษณะ มีที่อยู่ตัวตนชัดเจน มีประสบการณ์และประวัติการแปลเอกสารราชการต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับ บางสถานทูตมีการกำหนดชัดเจน ว่าจะต้องแปลกับบริษัทตามรายชื่อที่สถานทูตกำหนดเท่านั้น

ทั้งนี้ ลองจินตนาการนะคะ สถานทูตที่กงสุลที่พิจารณาเป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ เค้าจะต้องพิจารณาเอกสาร จากเอกสารที่แปลมาเท่านั้น ซึ่งถ้าการแปลไม่ถูกต้อง หรือมีการปลอมแปลงข้อความเกิดขึ้น ก็จะไม่สามารถทราบได้ ดังนั้น สถานทูตจึงต้องการผู้แปลที่เป็นบุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือ หากเราให้เพื่อนพี่น้อง หรือบางคนอาจจะกระทั่งแปลด้วยตนเอง คิดว่าสถานทูตจะให้ความน่าเชื่อถือกับเอกสารแปลในระดับไหน

หากเราไม่อยากถูกปฏิเสธวีซ่า จากความไม่น่าเชื่อถือของเอกสาร แนะนำว่าควรจะให้ผู้แปลมืออาชีพเป็นผู้ดำเนินการ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่สถานทูตคุ้นเคย จะยิ่งช่วยเราได้มากค่ะ

3. เข้าใจผิดว่า ทนายความสามารถช่วยรับรองตัวตน สถานะทางสังคม หรือแม้กระทั่งสถานะทางการเงินให้กับคุณได้

ประเด็นนี้ คนก็เข้าใจผิดกันเยอะมาก ๆ ค่ะ ในส่วนของทนายความซึ่งเราก็คิดว่าเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงกฏหมาย มีความน่าเชื่อถือ และน่าจะสามารถรับรองตัวตนของเรา สถานภาพความสัมพันธ์ หรือรับรองฐานะการเงินได้ บางคนอาจจะถึงขนาดว่า ไม่อยากจะยื่นเอกสารสเตทเมนต์จากธนาคาร แล้วจะให้ทนายความรับรองแทน ว่าเรามีเงินเท่านั้นเท่านี้

สิ่งที่เราเจอมาเยอะ คือสถานทูตปฏิเสธวีซ่า เพราะทนายความรับรองแทนการยื่นเอกสารที่ถูกต้องนี่แหละค่ะ ไม่ใช่แค่ทนายไทยนะคะ ทนายต่างชาติของประเทศที่เราจะขอวีซ่าไปนี่แหละ ก็ไม่รอดเช่นกันค่ะ เพราะอะไรคงไม่ต้องสงสัย ถ้าเรามองในมุมของสถานทูต เราจะเชื่อถือได้อย่างไร ว่าในความจริงเป็นเช่นนั้น อาจจะมีการสบคบคิด แจ้งรายละเอียดที่เป็นเท็จก็ได้จริงมั้ยคะ

 

ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ในการยื่นวีซ่า สถานทูตมีแจ้งไว้ชัดเจน ในบางกรณีจากความเข้าใจผิดข้างต้น อาจจะวีซ่าผ่านก็มีได้ค่ะ แต่ก็จะเป็นการพิจารณาเคสบายเคส ซึ่งที่จริงตามหลักการแล้วไม่ถูกต้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าธรรมเนียมวีซ่านั้นก็แสนแพง และถ้าวีซ่าไม่ผ่าน สถานทูตก็ไม่ได้คืนให้เรา ทั้งเสียประวัติและการอนุมัติก็จะยากขึ้นไปอีกหากยื่นขอใหม่ งั้นเรามาทำให้ถูกต้องน่าจะดีที่สุดค่ะ

 

หากใครกังวลในเรื่องขั้นตอน อีกทั้งการเตรียมเอกสาร และการเตรียมตัวสัมภาษณ์ ก็อย่าลืม เกทแอนด์โก นะคะ ทีมงานเราพร้อมช่วยเหลือดำเนินการ เพื่อให้คุณได้สำเร็จทุกเป้าหมายการเดินทาง จะได้ใช้เวลาในการเตรียมแผนเที่ยวกันอย่างสนุก ส่วนเรื่องวีซ่า.. ให้เป็นหน้าที่เราค่ะ 🙂

ปรึกษาเกทแอนด์โก "โทร หรือ ไลน์ หาเราเลยค่ะ"


Leave a comment!

Your email address will not be published. Required fields are marked *